พอดีได้มีโอกาสเข้าฟัง session ศิลปะแห่งการขอบคุณ โดย คุณแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต และ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ
ดำเนินรายการโดย ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ จัดโดย เสถียรธรรมสถาน ClubHouse ก็เลยมาสรุปที่สิ่งที่ผมได้รับดังนี้ครับ
คนไทย กับ คนญี่ปุ่น ขอบคุณเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?
มีความอ่อนน้อม อ่อนโยน ความเกรงใจที่คล้ายๆกัน ส่วนในจุดที่ต่าง เช่น คนไทยมักขอบคุณเมื่อมีคนทำสิ่งต่างๆให้กับเรา คนญี่ปุ่นมีการขอบคุณในบริบทที่กว้างกว่า ทั้งกับคน สิ่งของ โอกาส สิ่งดีๆรอบตัว
หลายสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมา อยู่อย่างเกื้อกูลกัน ขอบคุณกันเพื่อเป็นการแสดงความเข้าใจต่อกันมากขึ้น ลดการประมาททำเรื่องผิดพลาดให้น้อยลงได้
~~~
อะไรคือปรัชญาพื้นธานของคนญี่ปุ่น? ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การโค้งนอบน้อมอย่างสุดใจ
มีวิธีคิดหลักๆ หนึ่งข้อของคนญี่ปุ่นคือ ichigo-ichie (หนึ่งครั้ง หนึ่งพบพาน ) ในการพบเจอคนคนหนึ่ง (หรือการพบเจอกันกับคนที่รู้จักคุ้นเคยอยู่แล้วก็ตาม) อาจจะเป็นการพบเจอกันครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายก็ได้ ในช่วงเวลาที่พบเจอกันนี้ จึงต้องตั้งใจกับการปฏิบัติต่อกัน
ในปัจจุบันขณะที่พบกัน คือช่วงเวลาที่พิเศษสุดแล้ว ถ้าอยากทำอะไรทำให้ดีที่สุดเท่าที่กำลังจะทำได้
~~~
ศิลปะในการอยู่กับสภาวะปัจจุบัน น่าจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญหรือไม่? ในการหล่อหลอมมุมมองและความรู้สึกแห่งการขอบคุณ
การอยู่กับปัจจุบันด้วยสติ สำคัญมาก และสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ธรรมเนียมต่างๆ เช่น คำกล่าวก่อนกินข้าว คำกล่าวเมื่อกินข้าวเสร็จแล้ว เป็นเหมือนการเตือนตัวเองว่า ขณะนั้นเราทำอะไรอยู่ ได้พิจารณาเห็นแง่มุมเพื่อขอบคุณ
บ่อยครั้งที่เหตุการณ์รอบตัว เกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นสภาวะตามไตรลักษณ์ เกิดการขอบคุณที่ เป็นตัวอย่าง ให้ตัวเราได้สัมผัสถึง intuition, แง่งามต่างๆ
~~~
ถ้าเราเลือกวัฒนธรรม พฤติกรรม มาปฎิบัติปรับใช้แล้วสำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น สิ่งนั้นคืออะไร?
การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีรอยยิ้มมีความสุขด้วย ระหว่างการเดินทางสู่เป้านั้น ชื่นชมในทุกการกระทำดีๆ ที่ผู้อื่นทำต่อเรา
การมีวินัยด้านบวกและกตัญญูต่อชีวิตและสรรพสิ่งรอบตัว ใส่ใจ ให้ใจด้วยความเข้าใจ จับถูกมากกว่าจับผิด
~~~