(credit cover: facebook page True Digital Park https://www.facebook.com/TrueDigitalPark )
ผมได้มีโอกาสรับชม The GREAT FORUM 2021~The Great Minds in Crisis~ (สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nrzIZL1D-v0 ครับ) โดยคุณเติร์ด อนุโรจน์ เกตุเลขา, คุณมารีญา พูลเลิศลาภ, ดร.ก้อง พณชิต กิตติปัญญางาม, โค้ชเช ชัชชัย ชเว ย็อง-ซ็อก, คุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม และ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ดำเนินรายการโดย คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ก็เลยมาสรุปที่สิ่งที่ผมได้รับดังนี้ครับ
หมายเหตุ: ถ้ามีการถอดความผิดพลาดใด ผมขอน้อมรับความผิดพลาดจากการสื่อสารนี้แต่เพียงผู้เดียวครับ
The Creator ~Creating rhythm during crisis~โดย คุณเติร์ด อนุโรจน์ เกตุเลขา
- การหยิบความน่าสนใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มาเล่าในรูปแบบที่ตัวเองถนัด (ในบริบทนี้คือ เพลง)
- เมื่อพบกับความตีบตัน คิดอะไรไม่ออก ให้เปลี่ยนบริบท เช่น การออกท่องเที่ยวเดินทาง
- การวิเคราะห์ผลงานที่ได้รับความนิยมว่า “มันเกิดขึ้นด้วยเหตุผลอะไร?” ออกมาเป็นข้อ ๆ ทำให้ทราบแนวโน้มในการทำงานชิ้นต่อ ๆ ไปได้
- ทัศนคติที่สำคัญของ creator คือ เชื่อมั่นในผลงานของตัวเอง แข่งขันกับตัวเอง
- ยามที่เผชิญวิกฤติ ทำการแสดงไม่ได้ ใช้เวลาดังกล่าวในการ สร้างผลงานใหม่ ๆ เตรียมพร้อมไว้ใช้ในเวลาที่ดีและเหมาะ เข้ามาถึง
- ทำให้ตัวเองมี update อยู่เรื่อย ๆ เพื่อคงฐานแฟนให้ติดตามอยู่เสมอ
- ตามทัศนะของคุณเติร์ต ในบริบทของประเทศ การจัดการกับปัญหา พิจารณาผลกระทบในหลายมิติ ยังต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอีกมาก
- Creator ในยุคต่อ ๆ ไป อาจต้องรู้ trend ของคนในยุคGen Z, Gen Alpha ว่า พวกเขาต้องการสิ่งใด
- Generation Gap (ทั้งในมิติครอบครัวและสังคม) เป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจ นำไปสู่การ เปิดใจ เปิดพื้นที่ให้ได้ทำ และ เปิดรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
The Empowerer ~Empowering the next generation~ โดย คุณมารีญา พูลเลิศลาภ
- ในการใช้ชีวิต เรามีการรับพลังงานจากภายนอก และปล่อยพลังงานออกไปสู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานเชิงบวกหรือพลังงานเชิงลบก็ตาม
- เรามีตัวตนที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ มากกว่า 1 แบบ จงเลือกใช้อย่างเหมาะสม
- “ทำไม? (เราถึงเป็นแบบนั้น เราถึงทำสิ่งนี้)” เป็นการตั้งคำถามที่นำไปสู่สิ่งต่าง ๆ และกิจกรรมปัจจุบันที่ทางคุณมารีญามุ่งมั่นอยู่คือ การจัดการขยะ
- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากหลายส่วนงาน ดำเนินการสอดประสานกัน
- ผลจากการเปลี่ยนแปลง บางครั้งก็ใช้เวลานานกว่าจะเกิด จงมีความอดทนและมุ่งมั่นกับสิ่งที่เราเชื่อและทำ
- ประเด็นของความหลากหลายในสายงานที่ เยาวชน (Gen Z, Gen Alpha) รู้และอยากเป็นอยากทำ ยังมีอยู่ในกลุ่มที่จำกัดมาก และมีอีกหลากหลายสายอาชีพที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุคต่อไป ที่ต้องมีการให้ข้อมูลความรู้กับพวกเขา โดย ครู เป็น Facilitator ที่สำคัญมาก ๆ ในการนำพา
- Solution-based Thinking
- จัดสมดุลในการใช้ชีวิตในโลกจริงและโลก Online เพื่อให้สุขภาพร่างกายและจิตใจยังคงแข็งแรง
- ขอบคุณให้บ่อย (เป็น Positive Psychology ในทางหนึ่ง) เพราะในทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้น มีมุมดี ๆ ให้เราได้ขอบคุณอยู่เสมอ วิธีการมองโลก ถือเป็น นิสัย ที่สามารถฝึกได้
The Rescuer ~Rescuing lives through innovation~ โดย ดร.ก้อง พณชิต กิตติปัญญางาม
- ลงไปศึกษาโจทย์เพื่อรู้ความเป็นไปได้ และข้อจำกัดต่าง ๆ
- Choose the right demand, Put the right supply
- มอง End-to-End Flow ในแบบ Customer Journey (ผู้ใช้งานมีการกระทำอะไรบ้างในการใช้บริการหนึ่ง ๆ) ทำให้ workflow มีความเป็นอัตโนมัติที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วย Technology
- ปรับตัวให้ทันตามโจทย์ที่เปลี่ยนไป
- การใช้เงินทุนของกลุ่ม Startup, SME จะมีความรัดกุมที่มากขึ้น เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้
- “อะไรคือ Content ของเรา ?” (ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้)
- ข้อคิดจาก ดร.ก้อง 3 ข้อ
- เราทุกคนในประเทศ มีความเกี่ยวข้องกันมากกว่าที่คิด การช่วย แม้จะเป็นคนที่ไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง ก็ส่งผลกับเราได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
- ความเป็นชุมชน คือสิ่งสำคัญ เพราะเรามีการพึ่งพาอาศัยกัน
- เราอยู่ใกล้ ความตาย มากกว่าที่คิด ควรตระหนักรู้และบริหารจัดการตามความเหมาะสม
The Mentor ~Mentoring the next fighter~ โดย โค้ชเช ชัชชัย ชเว ย็อง-ซ็อก
- มีเป้าหมาย กำหนดแผนการ และดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย
- ดอกผลที่ชื่อว่า ความสำเร็จ ต้องใช้เวลา
- การบริหารจัดการเวลา เวลาใดซ้อม เวลาใดพัก
- ทัศนคติ เป็นสิ่งที่ฝึกฝนและปลูกสร้างได้ ซึ่งต้องใช้ความอดทน (ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่จำเป็นต้องทำ) เป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง
- สำหรับนักกีฬา (และปรับใช้กับคนธรรมดาปกติได้) โภชนาการ เป็นสิ่งสำคัญ เลือกกินในอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรง
The Healer ~Healing with positive energy~ โดย คุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม
- การรับฟังซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญ (และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ happy listen ที่คุณอแมนด้ามุ่งมั่นทำอยู่)
- การเจ็บป่วยในประเด็นของสุขภาพจิตนั้น เป็นเรื่องที่ควรเข้ารับการรักษา เหมือนการเจ็บป่วยตามปกติทั่วไป
- การได้ยิน (เสียงที่กระทบหู) กับ การรับฟัง (ที่ใช้ทั้งเสียง การสังเกตภาษากาย) เกิดการรับรู้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน
- ไม่ควรกำหนด, ตัดสิน ตีตรา ด้วยคำเชิงลบ (เช่น บ้า จิตไม่ปกติ) กับผู้ที่เจ็บป่วยทางสุขภาพจิต
- สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ก็ปล่อยวาง
- ก่อนที่จะสื่อสารอะไรออกไป ทั้งใน Social หรือโลกจริง, ถ้าเราได้รับการสื่อสารนั้นด้วยตัวเอง เรารู้สึกอย่างไร ? เราโอเคหรือไม่ ? ถ้ามันไม่โอเค ก็ไม่ทำมัน
- เปิดพื้นที่ ชวนคุย สร้างจุดร่วมกันของทุก ๆ Generation
- Empathy (ความเข้าอกเข้าใจ) เป็นหนึ่งข้อสำคัญของการเป็นผู้ฟังที่ดี
- “มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะไม่โอเคกับสิ่งที่พบเจออยู่ ถ้าไม่ไหว ให้หาสันคนที่รับฟังเราด้วยความบริสุทธิ์ใจ”
The Forecaster ~Forecasting for transformation~ โดย ดร.การดี เลียวไพโรจน์
- เหตุการณ์หรือวิกฤติการณ์ใด ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ 7 เดือนถึง 9 เดือน ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนได้(ตลอดกาล)
- Hybrid Work (การทำงาน ที่ไหนก็ได้ ด้วยประสิทธิภาพ และ ผลิตภาพทีดี) จะเป็นทางออก
- ความพร้อมในการปรับทักษะ (reskill, upskill) ของประชากรในประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ต้องพัฒนาอีกมาก
- อนาคตศาสตร์ คือ การวิเคราะห์อนาคตอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการข้อมูล ความเชื่อมโยง การสร้างสถานการณ์เพื่อความเข้าใจ “ถ้าเรารู้ว่ามันจะเกิดอะไร จะทำให้การตัดสินใจในปัจจุบัน มันดีขึ้น แบบใดได้บ้าง”
- Scenarios ที่เป็นไปได้ในสิบปีข้างหน้า
- Future of work: การทำงานร่วมกับ robot, machine
- โลกเสมือนจริง metaverse ที่มีโอกาสและงานใหม่ ๆ
- Exoskeleton ที่ machine มาเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ชีวิต
- Flexible Working Mode ที่เน้น Skill ที่ตอบโจทย์งาน มากกว่า ปริญญาและใบรับรอง
- การปรับตัวของ middle-age citizen (คนช่วงวัย 37 ถึง 55 ปี) จำเป็นต้องมีการ Unlearn สิ่งที่ไม่ตอบกับงานที่จะเกิดขึ้น และ Reskill สิ่งที่จำเป็นต้องการทำงานที่จะมี ยอมรับว่าอะไรที่เราไม่รู้ และเรียนรู้
- Active Aging Society (กลุ่มผู้สูงอายุ ที่สามารถสร้าง Output และ Outcome ที่ตอบกับความต้องการในสังคม และเลี้ยงดูตัวเองได้) เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ควรต้องทำให้เกิดขึ้น
- การรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Change) เป็นเรื่องด่วนที่ต้องรีบทำ เพราะมีสัญญาณที่ไม่แน่นอนมากมายเกิดขึ้น และความรุนแรงเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ (ซึ่งควรทำได้ในปี 2040)
- “การที่เรานั่ง วิ่งเล่นใต้ต้นไม้ใหญ่ได้ เพราะว่ามีคนคนหนึ่ง ปลูกเอาไว้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว” คนในยุคปัจจุบัน ควรจะเป็นคนคนนั้น ที่ส่งต่อโลกที่ดีให้กับ คนรุ่นต่อไป
- ถ้า Green is a new gold, new wealth สิ่งแวดล้อมที่ดีสะท้อนความเป็นอยู่ที่ดี ก็ควรจะมีตัวชี้วัดใหม่ที่ว่านี้ เพื่อเกิดการพัฒนารูปแบบใหม่
- Metaverse อาจเป็นที่นิยมใช้งานอย่างมีนัยยะสำคัญ ในช่วงปี 2025
- ในประเด็นของความเหลื่อมล้ำ ควรจัดการแก้ไขตั้งแต่ต้นทาง (สิทธิการเป็นมนุษย์, สิทธิการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การแพทย์ การศึกษา)
- การเรียนรู้ที่ มี Expert สอนผ่าน Conference Call และมี ครูที่อยู่ปลายทาง คือ Facilitator เป็นการผสมผสานการสอนที่ควรจะเกิดขึ้น และเปิดอิสระให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนตามต้องการ ได้ง่ายกว่า การเรียนตามแผนแบบเดิม
- ให้เยาวชน ได้สำรวจอาชีพที่เขาอยากได้ ชีวิตจริงหลังจากการเรียนนั้นคืออะไร ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเลือกเรียน
- ปรับตัวเอง จาก ผู้ใช้ที่ดี เป็น ผู้ใช้อย่างชาญฉลาด นำมาต่อยอดกับบริบทที่ใช้ชีวิตอยู่
- ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวิเคราะห์ เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ประชากรในประเทศต้องมี
- Work-Life Integration คือบทเรียนที่ ดร. การดี ได้สรุปไว้ จากวิกฤติที่เกิดขึ้น