(credit cover: เพจ บริษัท สยามชำนาญกิจ จำกัด https://www.facebook.com/siamchamnankit)
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วม Micro-Learning Class ยามเช้าตรู่ Scrum Framework โดยพี่ ประธาน ด่านสกุลเจริญกิจ ซึ่งผมได้ข้อคิด และความประทับใจในหลายส่วน จึงขอมาแบ่งปันตัวเองสัมผัสได้ ในรูปแบบหัวเรื่องสั้นพร้อมคำอธิบายโดยสังเขป ประมาณนี้ครับ
ความจริง(ที่ไม่สวยงามนัก)
ในสามเหลี่ยมของการบริหารจัดการ (Project Management Triangle) หาได้ยากมากที่จะ ควบคุม ทั้ง Scope, Cost และ Time ได้พร้อมๆกัน ในความเป็นไปได้ที่ผมคิดว่าดีที่สุดในจุดที่เป็นนั้นคือ ควบคุม ทั้ง Cost และ Time แล้ว บริหารจัดการ ส่วนของ Scope ให้เหมาะสมกับบริบทธุรกิจ (Scope ที่ขยายมากขึ้นในภายหลัง มันกระทบกับ Cost ที่ต้องใช้มากขึ้น และ Time ที่ต้องใช้มากขึ้นอยู่ดี)
รอบการทำงาน (Iteration) ยาวเท่าไหร่ดี?
อยู่ในช่วง 5 วันทำการ ถึง 10 วันทำการ เพราะไม่นานจนเกินไปนัก และมีความลงตัวกับการทำการอัพเดตรายสองสัปดาห์ (bi-weekly update) และ อัพเดตรายเดือน (Monthly update)
Pregame, Game และ Postgame
การที่จะทำให้ กรอบเวลาทำงาน ที่กำหนดนั้น ทำงานได้อย่างราบรื่น ล้วนแล้วแต่ต้องมีการเตรียมตัวทั้งสิ้น
- Pregame (การวางแผนในภาพใหญ่ การวางสถาปัตย์ ระบบแกนกลาง) คือสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพื่อนำไปสู่ความไหลลื่นนี้
- Game (การดำเนินการสรรสร้างผลลัพธ์และผลสำฤทธิ์) ทำไปตามรอบการทำงานที่กำหนดกันในทีม และเกิด ของที่พร้อมใช้ ในทุกรอบการทำงาน (วงจร Plan Do Check Act จึงถูกนำมาใช้ในรอบการทำงานนี้ด้วย)
- Postgame (การปิดโครงการ) ส่งไม้ต่อให้ผู้รับ
Scrum Master คือ Change Agent
ถ้าได้อ่านโดยละเอียดในส่วนของ Scrum Guide แล้วนั้น จะเข้าใจว่า หน้าที่รับผิดชอบของ Scrum Master นั้น มีทั้งความกว้างและลึกตามหัวข้อที่กล่าวไว้ข้างต้น
ทีมงาน! หรือเพียงแค่ กลุ่มคนทำงาน?
ทีมงาน คือ กลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วม รับทั้งผิดและชอบร่วมกัน
ส่วนกลุ่มคนทำงาน อาจจะเพียงการอยู่ร่วมกันด้วยเหตุจำเป็นบางอย่าง ความคิดความอ่าน เป้าหมายที่เห็น อาจจะไม่ไปในทางเดียวกันก็ได้
ควรสร้าง Self Organizing หรือ Self Managing Team?
- Self Organizing Team คือ เมื่อเจอโจทย์ จะเริ่มปฏิบัติกิจกรรมได้เอง ตั้งแต่ นัดประชุม ติดต่อผู้เกี่ยวข้อง ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน เตรียมตัวในส่วนของข้อมูล ทักษะที่จำเป็นในการทำให้โจทย์นั้น ถูกแก้ไขสำเร็จได้ด้วยดี โดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่ง (กว่าจะคล่องแคล่วเชี่ยวชาญแบบนี้ ต้องผ่านการบ่มเพาะอยู่ด้วยกันเป็นเวลาช่วงใหญ่ๆ ช่วงหนึ่ง)
- Self Managing Team คือ ทีมที่วางแผนเองได้ ทำงานตามที่วางแผนได้ ปรับเปลี่ยนแผนงานได้
แต่ในความเป็นจริง ของการ promote ปรับขั้นต่าง มักถูกประเมินเป็นแบบรายบุคคล ถ้าคนดังกล่าวคือ key man ที่จำเป็นในการสร้าง Self Organizing Team นั้นอยู่แล้ว จะส่งผลอย่างมาก (ที่ไม่สู้ดีนัก) ต่อทีมที่กำลังสร้างอยู่อย่างมาก
การทำให้เกิด Self Managing จึงเหมาะสมและยืดหยุ่นกว่า
Product Owner ผู้มีสิทธิ์(ขาด)และเสียง(ดังหนักแน่น)
เนื่องจาก เขาคือตัวแทนของ Stakeholder (อาจจะเป็น C-Level, Requirement Owner) ดังนั้น เขาต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจสำหรับการตัดสินใจ(และรับผลจากการตัดสินใจ) จาก Stakeholder ใน ทิศทางธุรกิจ ที่เกิดขึ้น
หนังสือน่าอ่าน
The Professional Scrum Master’s Handbook (Professional Expertise Distilled) by Stacia Viscardi