(credit cover: เพจ Bangkok International Digital Content Festival https://www.facebook.com/bidc.fest/ )
ผมได้มีโอกาสได้รับชม session Technology Today, Technology Tomorrow ~Might Learning Evolutions Lead to Learning Revolutions?~ โดยคุณ Prof. Dr. Curt Bonk อำนวยการจัดงานโดย Bangkok International Digital Content Festival ซึ่งผมเล็งเห็นจุดที่น่าสนใจหลายจุด จึงขอสรุปตามที่ตัวเองรับรู้มาได้ประมาณนี้ครับ
Pandemic Pondering
มีการถกเถียงกันอยู่ว่า การเรียนรู้โดยใช้ Technology เป็นตัวขับเคลื่อนนี้ เป็นสิ่งที่ใช้ชั่วคราว? หรือ เป็นแนวทางที่ใช้อย่างถาวร?, การมี AI และ Robotic เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเรียน/ห้องเรียนต่างๆ เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้หรือไม่?
มีข้อมูลว่า ในขณะที่เกิดโรคระบาดนี้ เด็กในสหรัฐอเมริกา มีทักษะการอ่านที่ลดลง แต่มีการวางวัตถุในการเรียนรู้ได้เองมากขึ้น เลือกเรียนรู้จาก Online Video มากขึ้น มีแนวโน้มของวิธีการเรียนรู้ออกไปในทางผสม (Hybrid หรือ blended learning) ทดลองและค้นหาวิธีการศึกษาใหม่ๆที่ดีขึ้น เช่น E-learning, Online Video Class, Augmented Reality เป็นต้น
ในวิธีการเรียนใหม่ๆ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ทางไกลนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย (สะดวกในการเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ แต่เกิดความเหนื่อยล้าในการดูเนื้อหาผ่านหน้าจอเป็นเวลานานๆ) และในการสอนวิชาเชิงปฏิบัตินั้น จำเป็นต้องทำในลักษณะ Discussion-based Group Learning เพิ่มเติมจากการเรียนรู้จาก Online Content นั้นๆแล้ว
Technology Yesterday
การเรียนรู้ทางไกล ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการทำมาตั้งแต่ยุค 1930s แล้ว จากการเรียนรู้ผ่าน วิทยุ เอกสารที่ส่งไปที่โรงเรียนปลายทาง และได้ปรับปรุงพัฒนามาเป็นการเรียนผ่านโทรทัศน์ Video OnDemand ผ่าน Ethernet และมีความสะดวกในมิติของระยะทาง, เวลา และปฏิสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยวิธี Online Video Learning/Conferencing ผ่าน Internet
Education 20/20
20 แรก คือ บทบาทใหม่ของ ผู้สอน/วิทยากร ที่ควรต้องเป็นจากสิ่งที่ทำเดิมๆ มีดังนี้
Course Ambassador (นำสิ่งที่ตัวเองสอน นำเสนอให้ผู้อื่น เพื่อให้เป็นที่รู้จักและได้รับ feedback เพื่อพัฒนาต่อไปได้), Conductor (รู้ว่าอะไรดี อะไรเด่น นำมาเรียบเรียงสร้างเป็นบทเรียนที่ดี), Coach (สนับสนุนผู้เรียน เปิดศักยภาพของผู้เรียนด้วยตัวเขาเอง ผ่านการ ฟัง ชม ถาม สะท้อน), Course Expedition Leader (นำพาผู้เรียนไปสู่จุดหมายต่างๆ ที่ใหม่และน่าสนใจกว่าเดิม), Chemist (ผสม content ดี ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ), Cultivator (เสาะหางานดีๆ มาให้ผู้เรียนได้ดู), Captain, Consumer Advocate, Curator, Counselor, Cook, Change Catalyst, Concierge, Comedian, Camping Trip Guide, Consultant, Collaborator, Community Organizer และ Colleague
ทั้งนี้ ไม่มีบทบาทใด เป็นบทบาทที่ดีที่สุด ผู้สอนต้องทำการปรับใช้บทบาทเหล่านี้ตามความเหมาะสม (เน้นหนักในบางบทบาท หยิบบางส่วนของบทบาทมาใช้งาน)
20 ต่อมา คือ หลักพื้นฐานในการเรียนรู้ ดังนี้
Flexibility, Convenience, Choice and Options, Empowerment and Autonomy, Support and Feedback, Organization, Sharing, Relevance and Meaningfulness, Expanded Resources, Human Connectedness, Spontaneity, NonTraditional Learning, Passion and Inspiraton, Colleaiality, Cheerfulness ans Optimism, Trial and Error, High Expectation, Purpose and Vision, Cognitive and Appprenticeship และอีกหนึ่งข้อที่ยังค้นหาอยู่ (เป็นปลายเปิดที่ผู้สอนต้องสืบค้นด้วยตัวเอง)
ทั้งนี้ ผู้สอนเองต้องหยิบมาปรับใช้เช่นเดียวกับบทบาทที่กล่าวข้างต้น
Technology Today ~30 Ways Learning is Changing…~
การเรียนรู้ในวันนี้ มีวิธีการที่เปลี่ยนไปในหลายส่วน เช่น ความเป็นทางการที่ลดลง, เน้นเนื้อหาประเภทวิดีโอ, ประเด็นที่หลากหลายมากมายไม่จำเพาะในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง, การเรียนรู้ร่วมกัน, การกำหนดความคืบหน้าด้วยตัวเอง เป็นต้น
โดยทั้ง 30 วิธีจะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
Learner Engagement เช่น Social, Hands-on, Mobile, Touch-Sensored, Visual, Adventurous, Game-based, Digital and Resource Rich, Immersive และ Collaborative
Pervasive Access เช่น Informal, Free, Global, Video-based, Open, Synchronous, Ubiquitous, Direct from Experts, Online และ Immediate
Customization and Personalization เช่น Massive, Self-Directed, Blended, Flipped, Communal, Personal, Competency-based, On-Demand, Modifiable และ Modular
Technology Trends of Tomorrow
มีแนวโน้มที่เป็นไปได้ อยู่ 5 ข้อดังนี้
- Robot Collaborators/Partners
- Independent Studies via MOOCs
- Binge Learning Experiences
- Rise of Super E-Mentors and AI Coaches
- Interactive Agents and Tutors