(credit cover: เพจ Vulcan Coalition https://www.facebook.com/vulcancoalition )
ผมได้มีโอกาสได้รับชม session Building A BETTER Mental Health ~ดูแลใจคนในองค์กรช่วง COVID-19~ อำนวยการจัดงานโดย PMAT, Vulcan Coalition และ OOCA ซึ่งผมเล็งเห็นจุดที่น่าสนใจหลายจุด จึงขอสรุปตามที่ตัวเองรับรู้มาได้ประมาณนี้ครับ
โรคซึมเศร้าและความเครียดในองค์กร~อุปสรรคต่อประสิทธิภาพในการทำงาน~ โดย ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์
โดยสถิติที่บันทึกไว้ มากกว่า 50% ของพนักงานมีความทุกทรมาณกับความตึงเครียดที่เกิดจากการทำงาน ซึ่งส่งผลกับประสิทธิ์ภาพ และ สุขภาพจิตใจ และค่าใช้จ่ายต่างๆตามมาอีกมาก
ความเครียด มีทั้งแบบส่งผลดี (มีในปริมาณที่เหมาะสม) และส่งผลไม่ดี (มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป) ซึ่งสะท้อนออกมากทางร่างกาย และพฤติกรรม โดยความเครียดที่มีปริมาณมากเกินไปนั้น คือหนึ่งในมูลเหตุสู่ โรคซึมเศร้า
4 ปัจจัยหลักที่เอื้อให้เกิดโรคซึมเศร้า คือ สารชีวเคมีในสมอง, กรรมพันธุ์, พฤติกรรมติดตัว และ ปัจจัยเชิงสภาพแวดล้อม
ซึ่งในส่วนของสภาพแวดล้อม (ณ บริบทนี้คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน) มีกรณีย่อยที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น ความเครียดต่อกรฯเรื่องความเป็นอยู่, วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเนื่องจากงาน, ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน, ความก้าวหน้าในสายงาน, การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และ การปรับตัว
ตัวกระตุ้นชี้นำตัวสำคัญๆ ซึ่งทำให้เกิดความเครียดในการทำงาน คือ วัฒนธรรมองค์กร, ข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการที่ไม่ดี และ ขาดการสนับสนุนช่วยเหลือ ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมในตัวบุคลากรที่ทำงานนั้นๆ
ในหลายองค์กร จึงริเริ่มส่วนของ Employee Assistance Program เพื่อช่วยเหลือบุคลากรที่มีปัญหาความเครียด โดยโปรแกรมที่กล่าวข้างต้นนี้ จะมีการเตรียมบริการหลักโดยทั่วๆไปอยู่ 6 บริการตามรูปด้านล่างนี้
ซึ่งช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น burnout, ขาดงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรได้ ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้ และ การมุ่งเน้นไปที่ต้นเหตุว่า ความเครียดในการทำงานคือตัวบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของปัญหาการบริหารจัดการ และทำการแก้ไขอย่างชัดเจน มีนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพจิตระดับองค์กร จะยิ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากรมากขึ้น (บุคลากรไม่รู้สึกเหมือนว่า ตัวเองอ่อนแอ,ตัวเองไม่ดีที่มีความเครียด เกิดความกล้าในการแก้ไขความเครียดนั้นโดยมีจิตแพทย์ดูแลอย่างถูกวิธี)
เครื่องมือ AI เพื่อดูแลใจพนักงานในองค์กร โดย คุณนิรันดร์ ประวิทย์ธนา
การใช้ Artificial Intelligent (AI) เพื่อช่วยตรวจสอบอาการที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้านั้น มีการทำในต่างประเทศมานานนระยะหนึ่ง และมีการริเริ่มประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องคลื่นเสียง ความถี่เสียงในการพูดคุยต่างๆ
จากที่ได้ทำการทดลอง มีปัจจัยที่น่าสนใจคือ ผู้ที่พิการทางสายตา มีความสามารถในทางการฟังที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า คนทั่วไป ซึ่งความพิเศษของคนกลุ่มนี้มีความเหมาะสมกับการฝึกสอน AI ด้วยข้อมูลที่ได้จากการทำ Text to Speech (หรือในทางกลับกันคือ Speech to Text) เป็นอย่างมาก
AI ที่ผ่านการฝึกด้วยรูปแบบข้อมูลจำนวนมากมาแล้ว สามารถวิเคราะห์เนื้อเสียงของกลุ่มตัวอย่างและจำแนกความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วยความแม่นยำในระดับหนึ่ง
ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีอย่างมหาศาลนี้เอง จึงจำเป็นต้องมีผู้พิการทางสายตาจำนวนมาก และด้วยกฏหมายการจ้างงานตามมาตรา 35 (ที่ระบุว่า องค์กรที่มีบุคลากรมากกว่า 100 ท่าน ต้องมีการจ้างงานผู้พิการ 1 ท่าน) จึงเกิดการร่วมมือขององค์กรต่างๆ กับทาง Vulcan Coalitions ตาม Chart ด้านล่างนี้
ซึ่ง Dataset ที่ได้จากการฝึกฝน AI นี้ จะมีการเปิดให้นำไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขลิขสิทธิ์ Creative Commons 4.0 (CC BY-SA 4.0)